Events

สรุปเนื้อหากิจกรรมสนทนาการเมือง “What The Thesis?” ครั้งที่ 2 “แบบแผนความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไประหว่างการเมืองระดับท้องถิ่นกับการเมืองระดับชาติ”

วันพุธที่ 22 มกราคม 2563 สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า จัดเสวนาวิชาการ “What The Thesis?” ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “แบบแผนความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไประหว่างการเมืองระดับท้องถิ่นกับการเมืองระดับชาติ” เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นของความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งกับนักการเมืองท้องถิ่นและพรรคการเมืองระดับชาติ เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องความเข้มแข็งของการเมืองท้องถิ่นที่คงอยู่มาได้แม้มีการปรับเปลี่ยนระบบเลือกตั้งให้อิงกับพรรคการเมืองระดับชาติแล้วก็ตาม ช่วงท้ายจึงเป็นการอัปเดตข่าวสถานการณ์รอบโลกในช่วงเดือนมกราคมและข่าวที่ผ่านมาแต่ยังคงร้อนแรงอยู่

งานวิจัยที่นำมาใช้เป็นแกนกลางของการสนทนาวิชาการครั้งนี้ คือ งานของ James Ockey เรื่อง “Team Work: Shifting Patterns and Relationships in Local and National Politics in Thailand” (2017) โดยงานชิ้นนี้ได้เข้าไปสร้างข้อถกเถียงกับทัศนคติที่ว่าคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตัดสินใจลงคะแนนเพราะถูกชี้นำโดยนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น และพยายามหาคำตอบว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งและนักการเมืองผู้ทรงอิทธิพลในท้องถิ่นได้สร้างแบบแผนไปสู่ความภักดีต่อพรรคการเมืองระดับชาติแล้วหรือไม่? และความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, พรรคการเมือง, และนักการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทย ได้เปลี่ยนไปอย่างไรในปัจจุบัน?

ข้อสรุปจากงานของ Ockey แสดงให้เห็นว่า “ความภักดีที่สูงขึ้นระหว่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งกับพรรคการเมืองไม่มีผลต่อการเมืองท้องถิ่น” แม้ว่าในช่วงทศวรรษ 2540 ที่เกิดไทยรักไทย effect ส่งผลให้พรรคการเมืองที่ใช้การเมืองเชิงนโยบายเพื่อเรียกคะแนนเสียงให้พรรค ลดความสำคัญของการพึ่งพาเจ้าพ่อท้องถอ่นลงไปได้ แต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ได้ส่งผลให้ท้องถิ่นมีงบประมาณจัดสรรและรับโอนภารกิจมากขึ้น จึงเปรียบเสมือนโอกาสใหม่ของเจ้าพ่อท้องถิ่นให้คงอำนาจในพื้นที่ของตนเช่นกัน

  โดยสรุปจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนแล้ว พบว่า นักการเมืองท้องถิ่นและเครือข่ายการเมืองท้องถิ่นยังคงมีอิทธิพลในท้องถิ่นและเป็นอิสระจากพรรคการเมืองระดับชาติ เนื่องจากการเมืองท้องถิ่นจะเป็นการจัดตั้งโดยคนท้องถิ่นหรือทีมอิสระ ทำให้พรรคการเมืองพยายามไม่เข้ามาแทรกแซงโดยตรงหากไม่จำเป็น ดังกรณีของการเลือกตั้งเทศบาลหรือ อบจ. ในนครศรีธรรมราชที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับการสนับสนุนจาก ส.ส.คนละกลุ่มในพรรคเดียวกัน เป็นเหตุให้แกนนำพรรคตัดสินใจไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งท้องถิ่นโดยตรง หรือกรณีของทีมเลือกตั้งท้องถิ่นชื่อ ทีมคุณธรรม ที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยชัดเจน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแบบแผนความสัมพันธ์ใหม่เกิดขึ้นเมื่อความภักดีต่อพรรคของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้เชื่อมโยงกับพรรคเพื่อไทยอย่างเป็นทางการ เพราะในบางครั้งความต้องการระดับท้องถิ่นกับวาระระดับชาติไม่ได้ไปด้วยกันเสมอไป

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: