Raw Data

คลังข้อมูลอภิปรายไม่ไว้วางใจ

Raw data สำหรับรายการ The Standard Daily x KPI กับอาจารย์ณวัฒน์ ศรีปัดถา นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา ในประเด็น ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’ ในวันที่ 29 มกราคม 2563

ว่าด้วยการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจในไทย

ทำไมถึงต้อง “อภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ”?

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำให้รัฐสภาเป็นสถาบันการเมืองที่สำคัญในฐานะพื้นที่ให้ผู้แทนราษฎรมาออกกฎหมายแทนประชาชน และยังต้องทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของฝ่ายบริหารการอภิปรายไม่ไว้วางใจ (motion of no-confidence) จึงมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นกลไกถ่วงดุลตรวจสอบอำนาจรัฐบาล  

การอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นิยามโดยสรุปคือ “เป็นการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โดยส่วนใหญ่มักเป็นฝ่ายค้าน) ขอเปิดอภิปรายเมื่อเห็นว่าการกระทำของคณะรัฐมนตรีไม่เป็นที่น่าพอใจ หากผลการลงคะแนนเป็นที่ประจักษ์ว่านายกรัฐมนตรีไม่เป็นที่ไว้วางใจของสภา ความเป็นนายกรัฐมนตรีจะสิ้นสุดลงพร้อมกันกับรัฐมนตรีทั้งคณะ ทั้งนี้จะใช้แบบอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ หรือไม่ลงมติก็ได้เช่นกัน”

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจในไทยมักเป็นไปเพื่อสร้างแรงกดดันให้แก่ฝ่ายรัฐบาล การหวังผลให้เกิดการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดนเสียงข้างมากในสภาเป็นไปได้ยาก เพราะยังมีเกมการเมืองจัดสรรผลประโยชน์ภายในสภา เช่น ซื้องูเห่า โต๊ะจีนกระชับมิตร เป็นต้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้พรรคร่วมรัฐบาลหรือสมาชิกพรรคขั้วตรงข้ามที่ยอมรับผลประโยชน์แลกกับการลงคะแนนไว้วางใจ กล่าวโดยสรุป เนื้อหาการอภิปรายเป็นการมุ่งสะท้อนปัญหาการทำงานของรัฐบาลให้สาธารณชนรับทราบ และจูงใจให้ภาคประชาชนช่วยเหลือฝ่ายค้านในการกดดันรัฐบาล 

  • ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • สรุปคร่าวๆ: ข้อกฎหมายจากรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ว่าด้วยเรื่องการขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนั้นไม่ต่างกันนัก จะต่างกันตรงจำนวนคนที่ยื่นขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
    • มาตรา 26การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้น ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เว้นไว้แต่เรื่องซึ่งมีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในรัฐธรรมนูญนี้

สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีจํานวนเสียงลงคะแนนเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

  • มาตรา 41สภาย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะลงมติความไว้ใจในรัฐมนตรีรายตัวหรือทั้ง

คณะญัตติความไว้ใจนั้น ท่านมิให้ลงมติในวันเดียวกันกับวันที่ปรึกษา

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
    • มาตรา 34สมาชิกสภาผู้แทนมีสิทธิเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้ใจรัฐมนตรีรายตัวหรือทั้งคณะ ได้โดยมีสมาชิกรับรองไม่ต่ํากว่ายี่สิบสี่คน การลงมติในกรณีเช่นนี้มิให้กระทําในวันเดียวกันกับวันที่ปรึกษา
    • มาตรา 41การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้น ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เว้นไว้แต่เรื่องซึ่งมีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในรัฐธรรมนูญนี้

สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีจํานวนเสียงลงคะแนนเท่ากัน ให้ประธาน

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
    • มาตรา 42สมาชิกสภาผู้แทนมีสิทธิเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีรายตัวหรือทั้งคณะก็ได้โดยมีสมาชิกรับรองไม่ต่ํากว่า 24 คน การลงมติในกรณีเช่นนี้มิให้กระทําในวันเดียวกันกับวันที่ปรึกษา
    • มาตรา 49การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้น ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เว้นแต่เรื่องซึ่งมีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในรัฐธรรมนูญนี้

สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีจํานวนเสียงลงคะแนนเท่ากันให้ประธานในที่่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่ง และเป็นเสียงชี้ขาด

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 
    • มาตรา 108การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษา ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เว้นแต่เรื่องซึ่งมีบัญญัติไว้เป็นพิเศษในรัฐธรรมนูญนี้

สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

  • มาตรา 131สมาชิกสภาผู้แทนไม่ต่ํากว่าหนึ่งในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายตัวหรือทั้งคณะ

เมื่อการเปิดอภิปรายทั่วไปในสภาผู้แทนสิ้นสุดลงโดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไปก็ให้ประธานสภาผู้แทนแจ้งไปยังประธานวุฒิสภา และในกรณีเช่นว่านี้วุฒิสภาอาจเปิดอภิปรายทั่วไปในปัญหาเดียวกันนั้น และอาจส่งข้อสังเกตไปยังสภาผู้แทนเพื่อประกอบการพิจารณาของสภานั้นได้

การลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ ให้สภาผู้แทนกระทําภายหลังที่ได้รับแจ้งผลแห่งการประชุมปรึกษาของวุฒิสภาตามความในวรรคก่อนแล้ว

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 
    • มาตรา 55การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้น ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เว้นไว้แต่เรื่องซึ่งมีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในรัฐธรรมนูญนี้

สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีจํานวนเสียงลงคะแนนเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

  • มาตรา 76สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ต่ํากว่าหนึ่งในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายตัวหรือทั้งคณะ

เมื่อการเปิดอภิปรายทั่วไปในสภาสิ้นสุดลง โดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไปให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ แต่การลงมติในกรณีเช่นนี้มิให้กระทําในวันเดียวกันกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุด

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 
    • มาตรา 104ภายใต้บังคับมาตรา 75 มาตรา 121 มาตรา 149 และมาตรา 169 การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ

สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

  • มาตรา 128สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนทั้งสองสภารวมกันหรือสมาชิกของแต่ละสภาไม่ต่ํากว่าหนึ่งในห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอ

ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายตัวหรือทั้งคณะญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นของสมาชิกสภาของทั้งสองสภาให้ยื่นต่อประธานรัฐสภา ถ้าเป็นของสมาชิกสภาใดให้ยื่นต่อประธานสภานั้น

การเปิดอภิปรายทั่วไปตามญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้กระทําในที่ประชุมรัฐสภา

เมื่อการเปิดอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลง โดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไป ให้ที่ประชุมรัฐสภาลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ แต่การลงมติในกรณีเช่นว่านี้มิให้กระทําในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุด

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 
    • มาตรา 159สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายตัวหรือทั้งคณะ

เมื่อการเปิดอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลง โดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไปให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ การลงมติในกรณีเช่นว่านี้มิให้กระทําในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุด มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภา

ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายนั้นเป็นอันหมดสิทธิที่จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายตัวหรือทั้งคณะอีกตลอดสมัยประชุมนั้น

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
    • มาตรา 137สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ

เมื่อการเปิดอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลง โดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไปให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ การลงมติในกรณีเช่นว่านี้มิให้กระทําในวันเดียวกับที่การอภิปรายสิ้นสุด มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร

ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายนั้นเป็นอันหมดสิทธิที่จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะอีกตลอดสมัยประชุมนั้น

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538
    • มาตรา 156สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ

เมื่อการเปิดอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลง โดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไปให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ การลงมติในกรณีเช่นว่านี้มิให้กระทําในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุด มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายนั้นเป็นอันหมดสิทธิที่จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะอีกตลอดสมัยประชุม

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
    • มาตรา 185สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตติดังกล่าวต้องเสนอชื่อผู้สมควรดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา 201 วรรคสองด้วย และเมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสาม

การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย จะเสนอโดยไม่มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา 304 ก่อน มิได้และเมื่อได้มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา 304 แล้ว ให้ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องรอผลการดำเนินการตามมาตรา 305

เมื่อการอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลงโดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไป ให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ การลงมติในกรณีเช่นว่านี้มิให้กระทําในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุดมติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายนั้น เป็นอันหมดสิทธิที่จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีอีกตลอดสมัยประชุมนั้น

ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนําชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อตามวรรคหนึ่งกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป และมิให้นํามาตรา 202 มาใช้บังคับ

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
    • มาตรา 158สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีญัตติดังกล่าวต้องเสนอชื่อผู้สมควรดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา 171 วรรคสอง ด้วย และเมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสาม

การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีที่มีพฤติการณ์ร่ํารวยผิดปกติส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย จะเสนอโดยไม่มีการยื่นคําร้องขอตามมาตรา 271 ก่อนมิได้และเมื่อได้มีการยื่นคําร้องขอตามมาตรา 271 แล้ว ให้ดําเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องรอผลการดําเนินการตามมาตรา 272

เมื่อการอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลงโดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไปให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ การลงมติในกรณีเช่นว่านี้มิให้กระทําในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุด มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายนั้น เป็นอันหมดสิทธิที่จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีอีกตลอดสมัยประชุมนั้น

ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนําชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อตามวรรคหนึ่งกราบบังคมทูลเพื่ออทรงแต่งตั้งต่อไป และมิให้นํามาตรา 172 มาใช้บังคับ

  • มาตรา 159สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในหกของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล และให้นําบทบัญญัติมาตรา 158 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

รัฐมนตรีคนใดพ้นจากตําแหน่งเดิมแต่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในตําแหน่งอื่นภายหลังจากวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีคนนั้นยังคงต้องถูกอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจตามวรรคหนึ่งต่อไป

ให้นําความในวรรคสองมาใช้บังคับกับรัฐมนตรีผู้ซึ่งพ้นจากตําแหน่งเดิมไม่เกินเก้าสิบวันก่อนวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อตามวรรคหนึ่ง แต่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในตําแหน่งอื่นด้วยโดยอนุโลม

  • มาตรา 160ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มิได้อยู่ในพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดของพรรคนั้นดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีมีจํานวนไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 158 หรือมาตรา 159 ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวทั้งหมดเท่าที่มีอยู่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามมาตรา 158 หรือมาตรา 159 ได้เมื่อคณะรัฐมนตรีได้บริหารราชการแผ่นดินมาเกินกว่าสองปีแล้ว
    • มาตรา 162ในกรณีที่มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเพื่อตั้งกระทู้ถามในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ หรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใด ให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นต้องเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเพื่อชี้แจงหรือตอบกระทู้ถามในเรื่องนั้นด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุจําเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทําให้ไม่อาจเข้าชี้แจงหรือตอบกระทู้แต่ต้องแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาทราบก่อนหรือในวันประชุมสภาในเรื่องดังกล่าว

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 
    • มาตรา 151สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ

เมื่อได้มีการเสนอญัตติตามวรรคหนึ่งแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสี่

เมื่อการอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลง โดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไปให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ การลงมติในกรณีเช่นว่านี้มิให้กระทําในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุดลง

มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

รัฐมนตรีคนใดพ้นจากตําแหน่งเดิมแต่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในตําแหน่งอื่นภายหลังจากวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อตามวรรคหนึ่งหรือพ้นจากตําแหน่งเดิมไม่เกินเก้าสิบวันก่อนวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อตามวรรคหนึ่ง แต่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในตําแหน่งอื่น ให้รัฐมนตรีคนนั้นยังคงต้องถูกอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจต่อไป

  • timelineของการอภิปรายไม่ไว้วางใจในอดีต

ข้อสังเกตบางประการ

  • จากการอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ 41 ครั้ง พบว่าเป็นการอภิปรายที่จบลงด้วยการลงมติไว้วางใจจำนวน 33 ครั้ง
  • ในขณะที่ 8 ครั้งที่ไม่ได้ลงมติ ประกอบด้วย
    • กรณีที่ถูกผ่านระเบียบโดยไม่รอลงมติ 2 ครั้ง (ครั้งที่ 2 และ 11)
    • กรณีนายกรัฐมนตรีลาออกก่อนเริ่มอภิปราย (ครั้งที่ 8)
    • กรณีผู้เสนอมติไม่ขอชี้แจง (ครั้งที่ 12)
    • กรณีการขอเปิดอภิปรายขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2521 มาตรา 137 (ครั้งที่ 13)
    • กรณีมีผู้ถอนญัตติ ทำให้ผู้เสนอญัตติไม่ครบ1ใน5ตามรัฐธรรมนูญ 2521 มาตรา 137 (ครั้งที่ 16)
    • กรณีมีการยุบสภาก่อนลงมติไม่ไว้วางใจ (ครั้งที่ 24)
    • กรณีฝ่ายค้านออกจากห้องประชุม (ครั้งที่ 25)

ไฮไลท์ที่น่าสนใจ

  • กรณีที่ไม่ได้มีการลงมติข้างต้น มี 4 ครั้งเกิดขึ้นในยุคเปรม (ครั้งที่ 11, 12, 13 และ16) แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการล็อบบี้ที่มากเป็นพิเศษต่างจากสมัยรัฐบาลอื่น?
    • อันดับการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่นานที่สุด 3 อันดับ
      • อันดับที่ 1 ยาวนาน 8 วัน คือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 5 ในยุคของรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
        • การอภิปรายไม่ไว้วางใจเกิดขึ้นภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ที่โดยประเด็นการอภิปรายที่เป็นไฮไลท์ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทยไม่สามารถปราบโจรผู้ร้ายที่ชุกชุม, รัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำไม่ได้, เกิดการคอรัปชันของข้าราชการ (องค์กรสรรพาหารมีข้าราชการยักยอกสินค้าดีขายแต่สินค้าคุณภาพต่ำ, นักการเมืองกินจอบกินเสียม ยักยอกไม่นำเงินจากการขายจอบเสียมไปคืนกระทรวงการคลัง)
          จากญัตติที่พรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมด 8 ข้อ ได้แก่[1]
          • ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยภายในตามนโยบายที่แถลงไว้
          • ไม่สามารถรักษานโยบายการเงินของชาติไว้ในทางมั่นคง ทำให้ฐานะการคลังล้มเหลวลงทุกทาง
          • ล้มเหลวทางเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้ประชาชนเดือดร้อนในการครองชีพ
          • การต่างประเทศ ไม่อาจสร้างความเชื่อถือกับนานาประเทศตามนโยบายที่แถลงไว้
          • ใช้อำนาจทางการเมืองแทรกแซงในราชการประจำ ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ราชการแผ่นดิน
          • ไม่สามารถรักษาฐานะของข้าราชการให้อยู่ในระดับที่สมควรทำให้ข้าราชการขาดกำลังใจที่จะปฏิบัติราชการ
          • ทางการศึกษาของชาติ รัฐบาลนี้ก็ไม่ได้ปรับปรุงและดำเนินการตามนโยบายที่แถลงไว้
          • ไม่สามารถค้นหาข้อเท็จจริงแถลงต่อประชาชนให้ทราบว่าในหลวงรัชกาลที่ 8 สวรรคตเพราะเหตุใด
        • ในขณะที่ผู้ตอบการอภิปรายมีเพียงนายกรัฐมนตรีถวัลย์เพียงคนเดียว และสามารถตอบโต้แต่ละประเด็นได้อย่างแยบยล
        • ซึ่งผลที่ตามมาคือ การลงมติไว้วางใจโดยเสียงข้างมาก และต่อมาจึงเกิดการรัฐประหารโดยพลโทผิน ชุณหะวัณ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490
      • อันดับที่ 2 ยาวนาน 6 วัน คือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 30 ในยุคของนายชวน หลีกภัย
        • เป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่มีระยะเวลายาวนาน เพราะประกอบด้วยผู้อภิปรายจำนวน 128 คน ทำให้ใช้เวลานาน
        • เนื้อหาที่เป็นไฮไลท์ได้แก่[2]
          • รัฐบาลไม่ดูแลทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์โดยเฉพาะเกษตรกร ปล่อยให้ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ํ่า
          • รัฐประพฤติตนเป็นซ่องโจร ใช้อํานาจรัฐข่มเหงรังแกทําร้ายราษฎรที่มาร้องขอความเป็นธรรม ลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน
          • ยอมเป็นหุ่นให้แก่กลุ่มนายทุนต่างชาติเอาเปรียบ กอบโกยแสวงหาผลประโยชน์จากประเทศชาติและนักธุรกิจไทยโดยไม่เป็นธรรม
          • รัฐบาลทุจริตและรู้เห็นปกป้องคุ้มครองให้มีการทุจริต การฉ้อราษฎร์บังหลวงในหน่วยงานราชการ และหน่วยงานของรัฐ
          • ไม่มีจิตวิญญาณประชาธิปไตย ทําลายเจตนารมณ์ในการปฏิรูปการเมือง และทําลายกระบวนการประชาธิปไตยของประชาชน
          • ขาดความเป็นผู้นําที่ก่อให้เกิดความมีเอกภาพในการบริหารงานทางด้านเศรษฐกิจ นโยบายผิดพลาดล้มเหลว เศรษฐกิจของประเทศชาติเสียหายอย่างร้ายแรง
      • อันดับที่ 3 ยาวนาน 5 วัน ได้แก่
        • การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 7 ในยุคของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
          • เป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี 8 คน (รมต. 4 คน และรมช. 4 คน) โดยมีประเด็นที่เป็นไฮไลท์ ดังนี้[3]
            • ปัญหาการดําเนินการบริหารด้านการขนส่งและโทรคมนาคม
            • ปัญหาทางเศรษฐกิจ (ค่าครองชีพ ดุลการค้าต่างประเทศ)
            • ปัญหาความสงบเรียบร้อยและความสงบสุขของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องอาชญากรรม การครองชีพ และการทํามาหากิน
            • ปัญหาด้านการพลังงาน (น้ํามันและแก๊สขาดแคลนและมีราคาสูง)
        • การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 38 ในยุคของนายอภิสิทธิ์
          เวชชาชีวะ
          • การอภิปรายใช้เวลานาน โดยมีปัญหาหลักคือ เหตุการณ์ใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนในปี 2553
          • เนื้อหาที่เป็นไฮไลท์การอภิปรายมี ดังนี้[4]
            • การบริหารราชการแผ่นดินไม่ถูกต้องไร้ทิศทาง ไร้หลักธรรมาภิบาล มีการทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ
            • ใช้อํานาจละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรงด้วยการสั่งทหารพร้อมอาวุธสงครามเข่นฆ่าประชาชนจนเสียชีวิตและบาดเจ็บจํานวนมาก บิดเบือนการใช้อํานาจใช้สื่อของรัฐโฆษณาชวนเชื่อเพื่อใส่ร้ายป้ายสีประชาชนว่าเป็นผู้ก่อการร้ายและบิดเบือนการใช้อํานาจเพื่อปกปิดความผิดของตนเองและพวกพ้องด้วยการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
            • แทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ โดยมิได้คํานึงถึงระบบคุณธรรมและความรู้
            • บริหารประเทศด้วยการก่อหนี้จํานวนมหาศาล ส่งผลให้เกิดภาระหนี้สาธารณะ
            • สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขาดความสามารถในการจัดหารายได้
            • แทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน กระทบต่อความสัมพันธ์และการค้าระหว่างประเทศอย่างรุนแรง
            • ปล่อยให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จําเป็นสูงขึ้นและขาดแคลน จนกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
            • ล้มเหลวในการแก้ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งที่ทุ่มเททรัพยากรจํานวนมหาศาลแต่กลับเกิดเหตุรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    • การอภิปรายที่สั้นที่สุด
      • ครั้งที่ 1 การอภิปรายในยุคพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.ศ. 2478
        • เป็นการอภิปรายที่สั้น เนื่องจากไฮไลท์คือ เป็นการถกเถียงว่าในการตั้งรัฐมนตรีซ่อมใหม่ จำเป็นต้องอภิปรายคุณสมบัติของรัฐมนตรีแต่ละคนก่อนหรือไม่ แล้วจึงเป็นลงคะแนนไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจการแต่งตั้งรัฐมนตรีข้างต้น
  • กล่าวคือ การอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจเป็นการกระทำที่เน้นผลลัพธ์เพื่อ:
    • สร้างแรงกดดันจากฝ่ายค้านในสภา
    • เป็นการบีบบังคับทางอ้อมให้ฝ่ายรัฐบาลต่อรองผลประโยชน์กันเองกับพรรคร่วมจนเสี่ยงที่จะเกิดความแตกแยกภายในรัฐบาล
    • เพิ่มแรงกดดันจากภาคประชาชนที่มีต่อการทำงานของรัฐบาล

[1] ดูเพิ่มเติมที่: “สาเหตุ “รัฐประหาร 2490” จากปัญหานานัปการหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ,” เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562. เข้าถึงได้ที่เว็บไซต์: https://www.silpa-mag.com/history/article_41697. เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563.

[2] ดูเพิ่มเติมได้ที่: “การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไววางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี”. (2560). น. 26-27. จัดทำโดย สํานักวิชาการ สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. เว็บไซต์: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parcy_train/ewt_dl_link.php?nid=44904&filename=index
เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563.

[3] ดูเพิ่มเติมได้ที่: “การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไววางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี”. (2560). น. 18. จัดทำโดย สํานักวิชาการ สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. เว็บไซต์: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parcy_train/ewt_dl_link.php?nid=44904&filename=index
เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563.

[4] ดูเพิ่มเติมได้ที่: “การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไววางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี”. (2560). น. 36. จัดทำโดย สํานักวิชาการ สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. เว็บไซต์: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parcy_train/ewt_dl_link.php?nid=44904&filename=index
เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563.


ว่าด้วยการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจกรณีศึกษาจากต่างประเทศในรอบสิบปี

            ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือแล้วแพ้มติซ้ำๆ อยู่ 6 ประเทศ โดยส่วนมากเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและเพิ่งเกิดใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2ไม่ว่าจะเป็นประเทศในแอฟริกา(Somalia),ประเทศที่มีภูมิลักษณะแบบเกาะ(Vanuatu และ Tuvalu) หรือประเทศทางยุโรปตะวันออก (Moldova, Slovenia และ Romania)เป็นต้น ทั้งนี้การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่นำไปสู่การถอดถอนผู้มีอำนาจส่วนมากเกิดขึ้นในประเทศที่มีรัฐบาลในรูปแบบของกึ่งประธานาธิบดีที่มีทั้งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี โดยกระบวนการการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะนำไปสู่การลงมติถอดถอนของแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกันไปตามรัฐธรรมนูญนั้นๆ ในเบื้องต้น motion of no confidence เป็นกระบวนการที่นำไปสู่การปลดผู้มีอำนาจในขณะที่คำว่าcensure คือการแสดงออกถึงการไม่ยอมรับและไม่ไว้วางใจต่อบุคคลที่อาจจะไม่ได้ส่งผลให้มีการถอดถอนบุคคลนั้นๆ กล่าวคือเเป็นแค่การอภิปรายไม่ไว้วางใจเพียงอย่างเดียวแต่ไม่ได้นำไปสู่การถอดถอน และในแต่ละประเทศการอภิปรายไม่ไว้วางใจอาจจะทำได้กับบุคคลเพียงคนเดียว ในขณะที่บ้างประเทศก็สามารถทำได้กับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ 

            ในประเทศที่มีการปกครองแบบระบบรัฐสภา (Parliamentary System)การอภิปรายไม่ไว้วางใจมักจะมีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลา กล่าวคือภายในปีหนึ่งสามารถเปิดอภิปรายได้หนึ่งครั้งต่อสาม,สี่ หรือหกเดือนขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ และสามารถลงมติถอดถอนได้ทั้งตัวบุคคลและหรือคณะรัฐบาล อย่างประเทศประเทศแคนาดาที่มีการปลดนายกรัฐมนตรี Stephen Harperในปี 2011 ด้วยคะแนน 156ต่อ 145การอภิปรายไม่ไว้วางใจนำไปสู่การลงมติถอดถอนทั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ตามข้อบังคับเมื่อได้มีการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีจะต้องยื่นหนังสือลาออกต่อ Governor Generalผู้ที่จะเป็นคนเชิญผู้นำคนอื่นมาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่อีกครั้งหรือยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่

ในขณะที่ประเทศสวีเดนการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นสามารถทำได้กับทั้งตัวนายกรัฐมนตรี (ตัวแทนของคณะรัฐบาล) หรือตัวบุคคลอย่างรัฐมนตรี โดยจะต้องมีเสียงสมาชิกสภากว่า 35 เสียงในการเสนอเปิดการอภิปราย และต้องใช้สมาชิกสภาอย่างน้อย 175 คนลงมติไม่ไว้วางใจเพื่อที่จะถอดถอน ซึ่งหากตัวบุคคลนั้นถูกลงมติไม่ได้รับความไว้วางใจ บุคคลนั้นจะต้องลาออกจากตำแหน่ง และหากนายกรัฐมนตรีถูกลงมติไม่ไว้วางใจ ตัวนายกรัฐมนตรีและคณะจะต้องลาออกโดยยังสามารถปฏิบัติงานไปจนกว่าสภาจะเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เมื่อปี 2018 นายกฯ Stefan Löfven ถูกลงมติไม่ไว้วางในด้วยคะแนน204 ต่อ 349 เสียง

 ใกล้เคียงกันในประเทศสเปนรัฐธรรมนูญมาตรา113ได้กำหนดไว้ว่าการจะเปิดอภิปรายได้นั้นจะต้องใช้เสียง 1 ใน10 หรือ 35 จาก350 ของจำนวนสมาชิกในสภาล่าง (Congress of Deputies) และจะต้องมีเสียงข้างมากแบบสมบูรณ์ (absolute majority)  โดยในกรณีของประเทศสเปนนั้นการเปิดอภิปรายจะต้องมีการเสนอชื่อของแคนดิเดตนายกฯ ด้วยภายใน 2 วันหลังการเสนอเปิดอภิปราย และจะสามารถเริ่มลงมติได้ 5 วันหลังจากการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจนี้นายกฯ จะไม่สามารถยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ได้ หากมีการลงมติไม่ไว้วางใจ นายกฯ และคณะจะต้องลาออก ในปี 2018Mariano Rajoyเป็นนายกฯ คนแรกของสเปนที่ถูกถอดถอนด้วยมติไม่ไว้วางใจ หลังจากที่ได้มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจมาแล้วถึง 4 ครั้งนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของประเทศ โดยคะแนนเสียงลงมติไม่ไว้วางใจคิดเป็น 180ต่อ 169 เสียง

ในประเทศที่มีการปกครองในรูปแบบของกึ่งประธานาธิบดี ประธานาธิบดีอาจจะเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจการปลดคณะรัฐบาล อาทิประเทศฝรั่งเศสมาตรา 49วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญกล่าวถึง motion de censure ว่าสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศสมีอำนาจเปิดอภิปรายเพื่อถอดถอนนายกฯ โดยจะต้องมีจำนวนอย่างน้อย 1 ใน10 ของสมาชิกสภาฯ และจะสามารถออกเสียงลงมติได้ใน 48 ชั่วโมงต่อมา และเมื่อมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 50 นายกฯ และคณะรัฐมนตรีจะต้องยื่นลาออก ทว่าประธานาธิบดีเองก็มีอำนาจมากพอที่จะเข้ามาแทรกแซง กล่าวคือหากมีมติให้มีการถอดถอด นายกฯ สามารถขอให้ประธานาธิบดียืนมือเข้ามายุบสภาตามมาตรา12 เพื่อป้องกันไม่ให้การลงมตินั้นสำเร็จ ตามมาตรา 8 ประธานาธิบดีสามารถแต่งตั้งนายกฯ และคณะได้ตามที่เห็นสมควร อีกทางหนึ่งหากประธานาธิบดีมีเสียงข้างมากภายในสภาก็สามารถที่จะปลดนายกฯ ได้เช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าในประเทศฝรั่งเศสประธานาธิบดีมีอำนาจมากกว่าประเทศในยุโรปที่มีระบบการบริหารคล้ายเคียงกัน

            ขณะเดียวกันในกรณีของประเทศอื่น ประธานาธิบดีอาจจะเป็นแค่สัญญาลักษณ์ทางพิธีการ (ceremonial head) มากกว่ามีอำนาจจริงในการบริหาร ซึ่งการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่อาจจะนำไปสู่การถอดถอนจะไม่ส่งผลกระทบต่อประธานาธิบดีโดยตรงต่างกับนายกฯ และคณะรัฐมนตรีที่มีหน้าทีต้องสร้างความเชื่อถือต่อรัฐสภา แต่ในอีกรูปแบบหนึ่งประธานาธิบดีมีอำนาจในฝ่ายบริหาร ส่วนนายกรัฐมนตรีมีหน้าทีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลและมีอำนาจในฝ่ายนิติบัญญัติติ  โดยภายใต้ระบบกึ่งประธานาธิบดีสามารถแบ่งย่อยออกเป็น1. ระบบนายกรัฐมนตรี-ประธานาธิบดี (Premier-president system)ประธานาธิบดีสามารถแต่งตั้งนายกฯ และคณะได้แต่มีแค่รัฐสภาที่มีอำนาจถถอดถอน โดยประธานาธิบดีไม่มีสิทธ์ในการปลดโดยตรงแต่สามารถยุบสภาได้2.ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี (President-parliamentary system)สามารถถอดถอนนายกฯ และคณะได้สองรูปแบบ คือทำด้วยอำนาจของประธานาธิบดีและทำด้วยการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจภายในสภา แต่ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจในการยุบสภา 

            กรณีการถอดถอนนายกฯ ในประเทศโรมาเนียประธานาธิบดีมีอำนาจตามมาตรา 103 ของรัฐธรรมนูญในการคัดเลือกแคนดิเดตนายกฯ ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการหลังจากได้รับความไว้วางใจ(voteof confidence)จากรัฐสภา ประธานาธิบดียังมีอำนาจในการยุบสภาหลังจากปรึกษากับทั้งสภาล่างและสภาตามมาตรา89 บน ทว่าในการถอดถอนนายกฯ มีแต่รัฐสภาเท่านั้นที่มีอำนาจ ในมาตรา 113เขียนว่าจำต้องใช้จำนวน1 ใน4 ของเสียงทั้งหมดสมาชิกสภาเพื่อเสนอญัตติไม่ไว้วางใจ ซึ่งจะสามารถเปิดอภิปรายและลงมติได้ใน 3 วันหลังจากนั้น หลังถูกถอดถอนคณะรัฐมนตรีสามารถปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีผู้ดำรงตำแหน่งคนใหม่เข้ามาแทนแต่ไม่สามารถร่างนโยบายใหม่ ในรอบสิบปีที่ผ่านมาโรมาเนียได้ถอดถอนนายกฯ จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจถึง 3 ครั้ง (2012, 2017 และ 2019) ในครั้งล่าสุดที่มีการถอดถอนนากยฯViorica Dancilaในปี2019 มีมติลงคะแนนเ238 จาก 245 เสียง  

            โดยสรุป ปัจจัยหลักของกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองผ่านการอภิปรายเกิดขึ้นเพื่อที่จะตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจ อันเป็นสิ่งที่สมควรทำให้ระบอบประชาธิปไตย โดยในแต่ละประเทศมีกระบวนการถอดถอนที่แตกต่างกันในรายละเอียดขึ้นอยู่กับระบอบการปกครองและรัฐธรรมนูญของประเทศ จะเห็นได้ว่าการปกครองด้วยระบบกึ่งประธานาธิบดีนั้นจะมีการเพิ่มบทบาทให้แก่ประธานาธิบดีเข้ามามีส่วนในการถอดถอนจากมติไม่ไว้วางใจมากกว่าในการปกครองแบบระบบรัฐสภา และในหลายกรณีศึกษายามเมื่อมีการปลดนายกรัฐมนตรีแล้วคณะรัฐมนตรีเองก็จะถูกถอดถอนไปพร้อมกัน ไม่ใช่แค่ตัวบุคคลอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์แล้วถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะเป็นตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจในการบริหารประเทศ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีเรื่องของเกมการเมืองและการแข่งขันระหว่างจำนวนเสียงเข้ามาข้องเกี่ยวไม่มากก็น้อย แม้แต่ในระบบการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีจะเห็นว่าประธานาธิบดีที่มีส่วนในการตัดสินใจก็ยังต้องใช้จำนวนเสียงข้างมากในสภาเพื่อจะดำเนินการตามที่ต้องการ   

Ref: 

https://oxcon.ouplaw.com/view/10.1093/law-mpeccol/law-mpeccol-e397

Click to access .pdf

http://www.cdep.ro/pls/dic/site.page?id=125

http://www.cdep.ro/pls/dic/site.page?id=126

“Confidence Convention”. Compendium of Procedure. Parliament of Canada. 2019. Retrieved 4 September 2019. https://www.ourcommons.ca/About/ProcedureAndPractice3rdEdition/ch_02_2-e.html

https://www.boe.es/legislacion/documentos/ConstitucionINGLES.pdf– constitutional of spain 

https://www.bbc.com/news/world-europe-44327573

https://www.theguardian.com/world/2018/sep/25/swedish-pm-stefan-lofven-losing-confidence-vote

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: