Raw Data

คลังข้อมูล กระบวนการรับฟังความคิดเห็น การจัดทำนโยบายและการตัดสินใจในการดำเนินการบริหารในรูปแบบของช่องทางออนไลน์หรือพื้นที่โลกเสมือน

Raw data สำหรับรายการ The Standard Daily x KPI กับ ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และ ดร.ชลัท ประเทืองรัตนา นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ในประเด็น ‘ทั่วโลกประชุมสภาอย่างไรท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ’ ในวันที่ 27 พ.ค. 63

ข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องของไทย

          เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 63 มีประกาศพระราชกำหนด ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์[1] พ.ศ. 2563 โดยมีมาตราที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

มาตรา 4 “การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประชุมที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีการประชุมที่ได้กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ร่วมประชุมมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกันและสามารถประชุมปรึกษาหารือและแสดงความคิดเห็นระหว่างกันได้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 7 การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 11 ให้ถือว่าการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกำหนดนี้เป็นการประชุมโดยชอบด้วยกฎหมาย และห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกำหนดนี้เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์


[1] ‘พระราชกำหนด ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563’ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนที่ 30 ก หน้า 20 ณ วันที่ 18 เมษายน 2563 สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/A/030/T_0020.PDF


Virtual Parliament

การระบาดของไวรัวโควิด-19 ทำให้การรวมตัวของคนจำนวนมากกลายเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา พร้อมกับการบังคับใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างจริงจัง ซึ่งนำมาสู่การงดเว้นกิจกรรมทางการเมืองเกือบทุกรูปแบบ อย่างไรก็ตามยังมีความพยายามจะทำกิจกรรมทางการเมืองอยู่ไม่มากก็น้อย Virtual Parliament คือ หนึ่งมาตรเหล่านั้นที่ผนวกเอาหลักการที่เว้นระยะห่างทางสังคมเข้าไปผสานกับการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเชิงสถาบัน โดยมีประเทศจำนวนหนึ่งที่พิจารณาใช้ Virtual Parliament และมีประเทศที่ใช้ Virtual Parliament ไปแล้วสองประเทศเป็นอย่างน้อยได้แก่ สหราชอาณาจักรและประเทศแคนาดา 

สหราชอาณาจักร

จากประสบการณ์ที่ประเทศอยู่ภายใต้ระบอบรัฐสภาอย่างยาวนานทำให้อังกฤษเคยผจญกับอุปสรรค์ที่ทำให้การรวมตัวกันของเหล่าผู้แทนประชาชนเป็นไปได้ยากอยู่ก่อนแล้วไม่ว่าจะเป็นเหตุนํ้าเน่าเสียในกรุงลอนดอนเมื่อปี 1858 หรือการทิ้งระเบิดแบบปูพรมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ด้วยความสำคัญของรัฐสภาต่อระบอบการปกครองทำให้โดยปกติแม้จะมีอุปสรรค์แต่อังกฤษก็สามารถจัดการประชุมสภาได้ และในกรณีของโควิด-19 ก็ไม่ใช่กรณียกเว้น

การประชุมสภาแบบ Hybrid House of Commons ของอังกฤษมีจุดเด่นที่จะมีผู้เข้าประชุมสภาที่เวสมินเตอร์ เพียงแค่จำนวน 50 คน และทุกคนจะเว้นระยะห่างให้อยู่ในระยะปลอดภัยต่อการที่เสี่ยงที่จะติดเชื้อ ขณะที่ผู้ไม่ได้เข้าประชุมในสภาเวสมินเตอร์ อีก 120 คนจะสามารถใช้โปรแกรม Zoom นี้คือก้าวริเริ่มเบื้องต้นเพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อเป็นการเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมสภาแบบ Virtual Parliament อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม และยังคงทำหน้าที่ในการเป็นตัวแทนของประชาชนในการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารที่กำลังจัดการกับวิกฤตโดยไม่ถูกตั้งคำถาม นอกจากนี้ยังการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ หากระบบ Hybrid House of Commons เป็นที่ประสบความสำเร็จ จะนำรูปแบบการประชุมทางบริหารนี้ไปใช้กับการถกเถียงในเรื่องของญัตติและข้อกฎหมาย รวมถึงความเป็นไปที่จะนำไปปรับใช้กับระบบการลงคะแนนเสียงในสภา

ทั้งนี้แม้จะมีการจัด Virtual Parliament แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเหมือนกับการประชุมสภาแบบปกติ จากการเปลี่ยนรูปแบบการเข้าร่วมทำให้พฤติกรรมของผู้เข้าประชุมเปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้ที่ประชุมทางโปรแกรม Zoom ในกรณีของสภาอังกฤษสามารถรับรู้ความแตกต่างได้จากเสียง เพราะโดยปกติแล้วสภาอังกฤษมีพฤติกรรมที่ชอบตะโกนโหวกเหวกเหมือนกำลังอยู่ในสนามมวย แต่หลังจากการเปลี่ยนใช้การประชุมแบบ Virtual Parliament พฤติกรรมของผู้เข้าประชุมนั้นสงบมากขึ้น ในทางตรงข้ามก็ขาดสีสันดึงดูดให้คนเข้ามาดูมากขึ้นด้วย

ประเทศแคนาดา 

ไม่ใช่แค่บรรยากาศที่เปลี่ยนไป ซึ่งสามารถมองได้ว่าเป็นทั้งโอกาส และวิกฤต การประชุมสภา Virtual Parliament ยังมีปัญหาอื่นๆ ที่มาจากความไม่คุ้นชินกับ Virtual Parliament ในประเทศแคนาดาการประชุมแบบ Virtual Parliament มีปัญหาด้านเทคนิคเป็นอย่างมาก อาทิ ผู้เข้าร่วมไม่ได้คุ้นชินกับโปรแกรมที่ใช้ประชุมไปจนถึงอินเตอร์เน็ตมีปัญหาจนไม่สามารถได้ยินเสียงของผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมที่ดูห่างเหินกัน และมีหลายครั้งที่ผู้เข้าร่วมต้องพยายามจะเช็คว่าผู้ฟังได้ยินเสียงของตนไหม 

Virtual Parliament จึงเหมือนจะเป็นตัวเลือกที่ดีในยามวิกฤตที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม แต่ก็ยังไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดในกรณีที่สถานการณ์เป็นปกติ โดยเฉพาะการจัด Virtual Parliament เต็มขั้น อย่างไรก็ตามเนืองจาก Virtual Parliament ยังเป็นสิ่งที่ใหม่มาก Virtual Parliament จึงยังมีความเป็นไปได้ให้เราได้ศึกษา และทดลองในโอกาสต่อไป

อ้างอิง

UK Parliament (2020, April 16). House of Commons takes historic first step towards virtual proceedings from https://www.parliament.uk/business/news/2020/april1/hybrid-house-of-commons/


การพิจารณาคดีผ่านช่องทางออนไลน์

          ศาลของรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ดำเนินการให้มีการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุนผ่านโปรแกรมซูม (Zoom) และถ่ายทอดสดไปยัง YouTube หลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ส่งผลให้การรวมตัวของคนหมู่มากภายในห้องพิจารณาคดีชั้นศาลนั้นถูกเลื่อนออกไป แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะพิเศษ เป็นปรากฏการณ์ใหม่ของการย้ายห้องพิจารณีคดีไปสู่พื้นที่ออนไลน์ แต่ยังเป็นการก้าวไปอย่างไม่เต็มตัว เป็น Hybrid approach กล่าวได้ว่าเป็นการผสมผสานระหว่างพื้นที่ออนไลน์และออฟไลน์ โดยให้เหล่าคณะลูกขุนดำเนินการบนโปรแกรมออนไลน์และเจ้าหน้าทีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ นั้นดำเนินการในห้องพิจารณาคดีดังเดิม ทั้งนี้คดีที่มีการพิจารณาโดยรูปแบบดังที่กล่าวไปนั้นเป็นการสรุปพิจารณาคดี คำตัดสินของคณะลูกขุนไม่มีผลผูกพันต่อคำตัดสินของศาล กล่าวได้ว่าเป็นการริเริ่มดำเนินการในช่วงทดลองการพิจารณาคดีโดยใช้เทคโนโลยีสื่อสาร โดยกำลังเป็นที่ศึกษาว่าการย้ายไปพืน้ที่ออนไลน์นั้นจะเป็นผลดีจริงหรือไม่ หรือจะสร้างผลเสียและความน่าเชื่อถือมากกว่าเดิม

ทว่าก็มีข้อกังวลในหลายเรื่องๆ ไม่ว่าจะเป็น

1. เรื่องการเก็บรักษาความลับของการพิจารณาในชั้นศาล เมื่อสามารถเข้าประชุมออนไลน์ได้จากที่บ้าน มีความเป็นไปได้ที่จะมีบุคคลที่สามหรือสี่รับฟังการพิจารณาคดีอยู่ด้วยหรือไม่?

2. คณะลูกขุนที่มีจำนวนมากจนทำให้อยากที่จะสังเกตุเห็นทุกคนในเวลาพร้อมเพียงกัน ทำให้มีการเสนอสร้างห้องย่อย (breakout room ของ zoom) เพื่อที่จะแบ่งคณะลูกขุนออกเป็นสองกลุ่มเพื่อง่ายต่อการสื่อสาร

3. ที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือมีข้อกังขาว่าการย้ายการพิจารณาคดีไปยังฐานออนไลน์จะยิ่งทำให้การเข้าถึงของประชาชนนั้นเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัคร หรือ court watcher[1]

3.1 กรณีตัวอย่างของการพิจารณาคดี[2]

ที่ New York City ไม่ยอมถ่ายทอดสดให้ประชาชนโดยทั่วไปได้เห็น หากต้องการจะรับชมจะต้องเดินทางไปดูยังศาลเท่านั้น

ที่ LA หรือ Miami ไม่มีช่องทางให้เข้าถึงการรับฟังการพิจารณาคดีในช่องทางออนไลน์

ที่ New Orleans อาสา court watcher และผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงได้ห้องพิจารณาคดีออนไลน์ได้ ทว่าล้วนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้พิพากษาในคดีนั้นๆ (ซึ่งไม่ได้มีการรับประกันว่าจะได้รับฟังในทุกคดี)

4. ความเสถียรทางอินเตอร์เน็ทและการเข้าถึงฐานออนไลน์ที่อาจจะสร้างข้อได้เปรียบเสียเปรียบ

5. ความปลอดภัยของโปรแกรมบนฐานออนไลน์ จากกระแสข่าวเรื่องความมั่นคงของโปรแกรมออนไลน์ที่เปราะบางต่อการถูกเจาะระบบ


[1] https://www.theverge.com/2020/4/22/21230022/jury-zoom-trials-court-hearings-justice-system-virtual-transparency

[2] https://www.themarshallproject.org/2020/04/13/the-judge-will-see-you-on-zoom-but-the-public-is-mostly-left-out

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: