Articles

สรุปเนื้อหากิจกรรมสนทนาการเมือง “What The Thesis?” ครั้งที่ 4 “รำลึก 1 ปี เลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562”

วันอังคารที่ 31 มีนาคม 2563 สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า จัดเสวนาวิชาการ “What The Thesis?” ภายใต้หัวข้อ “รำลึก 1 ปี เลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562” ซึ่งนำสนทนาโดยนายณวัฒน์ ศรีปัดถา นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการจัดผ่านช่องทางออนไลน์คือ แอพลิเคชัน “Google Meet”  โดยการกิจกรรมสนทนาวิชาการครั้งนี้เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนใน 3 ประเด็น


เริ่มช่วงแรก “Global Trends” ของนางสาวขวัญข้าว คงเดชา จากสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย  การสรุปภาพรวมข่าวสาร 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคมที่กำลังจับตาที่ประเด็นโรคระบาดโควิดที่ส่งผลให้สังคมต้องปรับตัวอย่างเลี่ยงไม่ได้และเข้าสู่กระแส digital transformation ต่อไป ถัดมาเป็นกระแสการเมืองเรื่องความเป็นประชาธิปไตยในการกำหนดมาตรการควบคุมโรคโควิด จากนั้นด้านเศรษฐกิจที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับสภาวะชะงักทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมทั่วโลกที่กำลังดีขึ้นโดยเฉพาะชั้นโอโซนที่ฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว


ถัดมาจึงเป็นช่วงสำรวจภาพรวมวิชาการทั่วโลกของนายศิปภน อรรคศรี จากสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ครั้งนี้เป็นการการสำรวจงานวิชาการทั่วโลกที่สนใจศึกษาเจาะจงเรื่องการเลือกตั้งทั่วไปของไทยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 โดยส่วนแรกเป็นการสำรวจประเด็นที่นักวิชาการสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 โดยหัวข้อ 3 อันดับแรกที่ได้ความนิยมคือ การเมืองระดับท้องถิ่น, เผด็จการอำนาจนิยม และ พรรคการเมือง ทั้งนี้ส่วนต่อมาเป็นการชวนสนทนาจากตัวอย่างงานวิชาการที่น่าสนใจในช่วงปี 2019-2020 ครั้งนี้คือ เอกสาร Roundtable ในหัวข้อ “Thailand’s Amazing 24 March 2019 Elections” ที่มีผู้เขียนบทความจำนวนมาก อาทิ Duncan McCargo, ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ หรือ ผศ.ดร. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละบทความก็จะเป็นการนำเสนอมุมมองที่หลากหลายและลุ่มลึกต่อการเลือกตั้งของไทยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562


ก่อนที่ในช่วงท้ายจะเป็นช่วงของนายณวัฒน์ ศรีปัดถา นักวิชาการผู้ชำนาญการ จากสำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา ได้มานำเสนอหัวข้อว่าด้วยการตั้งข้อสังเกตต่อภาพรวมการจัดการเลือกตั้งทั่วไปของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกฎระเบียบการเลือกตั้งในส่วนของการแจกใบแดง ส้ม เหลือง ดำ ผู้อภิปรายอธิบายว่าการแจกใบต่างๆนั้นถือเป็นเครื่องมือทางกฎหมายที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ใช้งานเพื่อรับมือกับพฤติกรรมที่ขัดต่อหลักความโปร่งใสและสุจริตของการเลือกตั้ง โดยสรุปคือ เครื่องมือของ กกต. ในการรับมือพฤติกรรมดังกล่าวมีความเปลี่ยนแปลงใน 3 รัฐธรรมนูญด้วยกัน ได้แก่

  • ระยะแรกตามรัฐธรรมนูญ 2540 กกต. ทำได้เพียงจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่เท่านั้น
  • ระยะที่สอง ในรัฐธรรมมนูญ 2550 ได้ให้อำนาจ กกต. สามารถออกคำสั่งได้ทั้ง “ใบแดง” เพื่อเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และ “ใบเหลือง” ที่ใช้สั่งให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่
  • ระยะที่สาม ได้มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 นอกจากอำนาจใบเหลืองกับใบแดงเดิมแล้ว มีความเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยในสามข้อได้แก่ ข้อแรก บทลงโทษของ “ใบแดง” จะถูกตัดสินโดยศาลฎีกา ข้อที่สอง มีการเพิ่ม “ใบส้ม” ให้มีการพักสิทธิของผู้สมัครที่ไม่มีคุณสมบัติออกจากการลงสมัครรับเลือกตั้งชั่วคราว และข้อที่สามคือ เพิ่ม “ใบดำ” ที่เป็นการทำให้ผู้ใดที่ถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้นั้นจะไม่อาจลงสมัครรับเลือกตั้งได้อีกตลอดชีวิต

อย่างไรก็ตาม ณวัฒน์มองว่าหัวใจสำคัญของการเลือกตั้งคือความสุจริตและเที่ยงธรรม โดยที่ประชาชนสามารถตัดสินเลือกอนาคตสังคมการเมืองด้วยตนเอง การมีอำนาจใบต่างๆจึงมีหน้าที่เพียงพิทักษ์การเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและโปร่งใสเท่านั้นเอง

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: