Articles

งาน 4-Point Digital Rights Agenda for Political Parties โดย Engage Media

ขวัญข้าว คงเดชา

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 Engage Media หรือองค์กรไม่แสวงหากำไรที่สนับสนุนเรื่องของสิทธิดิจิทัลเทคโนโลยีและการใช้งานของโซเซียลมีเดีย ได้เผยแพร่ 4 วาระสิทธิดิจิทัลสำหรับพรรคการเมือง โดยได้อธิบายถึงภูมิหลัง 10 ปีที่ผ่านในบริบทของสิทธิทางดิจิทัลของไทยที่เต็มไปด้วยความท้าทายของประชาชนและค่านิยมทางประชาธิปไตย ในการนี้ทาง Engage Media ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ร่วมกันร่าง 4 วาระทางสิทธิดิจิทัลที่พรรคการเมืองควรพิจารณานำไปประกอบกับนโยบายและอุดมการณ์ของตนเองในช่วงเวลาของการเลือกตั้งที่ใกล้จะถึง

วาระที่ 1 ส่งเสริมและปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก โดยได้หยิบยกกรณีคดีความทางออนไลน์และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปราบปรามความเห็นต่าง ส่งผลต่อเสรีภาพของประชาชนภายในระบอบประชาธิปไตย

วาระที่ 2 สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้มีการเกริ่นถึงความยากลำบากในการเข้าถึงข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลของภาครัฐ และการเข้าแทรกแซงการเผยแพร่เนื้อหาข้อมูลของภาคส่วนอื่น ๆ ที่รัฐเห็นว่าเป็นประเด็นอ่อนไหว

วาระที่ 3 เคารพและปกป้องสิทธิในความเป็นส่วนตัว ที่ผ่านมาเกิดการละเมิดความเป็นส่วนตัวผ่านการให้ความชอบธรรมต่อข้ออ้างของความมั่นคง เกิดเป็นความคลุมเครือที่ไม่สามารถแบ่งเส้นได้อย่างชัดเจนว่ารัฐสามารถที่จะเข้าไปตรวจสอบได้มากน้อยแค่ไหน

วาระที่ 4 จัดการกับปัญหาข่าวปลอม การจัดการที่เคยเกิดขึ้นไม่ตรงตามมาตราฐานของสากลในการตรวจสอบและปราบปรามข่าวปลอม แต่กลับถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้มีอำนาจแทนที่จะเป็นการใช้เพื่อนำข้อเท็จจริงสู่สังคม

ประเด็นทั้ง 4 วาระเหล่านี้ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ผ่านการศึกษาจากบริบทของประเทศไทยมาตลอด 10 ปี นอกจากนี้ ภายในงานเปิดตัว 4 วาระสิทธิดิจิทัล ยังได้มีการเชิญตัวแทนจากพรรคการเมืองมาเพื่อแสดงความคิดเห็นและเสนอว่าทิศทางในอนาคตสำหรับการส่งเสริมสิทธิทางดิจิทัลตามค่านิยมของประชาธิปไตยควรจะเป็นอย่างไร

คุณศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย แสดงความเห็นด้วยกับข้อเสนอต่าง ๆ กฎหมายใดที่มีปัญหาก็สมควรที่จะต้องแก้ไข และควรจะนำไปพูดคุยในส่วนของนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลา ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างปุ๊บปั๊บ ทั้งยังได้ยกตัวอย่างประเด็นวาระที่ 2 อย่างการเข้าถึงข้อมูล ว่าภาครัฐพยายามที่จะพัฒนาโครงสร้างให้พร้อมสำหรับยุคสมัย ทว่าแต่ละหน่วยงานก็มีระเบียบและกฎเกณฑ์ของตนเองแตกต่างกัน จึงทำได้อย่าง หรือในวาระที่ 3 อย่างประเด็นสิทธิส่วนบุคคล คุณศรัณย์ก็เห็นด้วยว่าเป็นการใช้กฎหมายแบบผิดฝาผิดตัว

คุณวรภพ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ได้มีการแสดงความคิดเห็นตามแต่ละวาระ  เช่นวาระที่ 1 ได้มีการพูดเสริมว่าไม่ควรจะต้องมีใครติดคุกเพียงเพราะความเห็นต่างทางการเมือง วาระที่ 2 การเข้าถึงข้อมูลควรเป็นสิ่งสาธารณะที่กระทำได้ภายใต้การครอบครองของรัฐ เน้นหลักการ ‘เปิดเผยทั้งหมด ปกปิดเป็นข้อยกเว้น’ วาระที่ 3 ควรมี Data Standard การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลควรทำได้อย่างมีขอบเขต และทำอย่างไรไม่ให้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงและประชาชนมีความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของข้อมูลตนเอง และวาระที่ 4 พรบ.ควรมีไว้ใช้เพื่ออาชญกรรมออนไลน์เท่านั้น และการดำเนินคดีควรจะทำเพื่อปราบปราม ไม่ให้ข่าวปลอมแพร่หลาย

และ คุณธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายพรรคไทยสร้างไทย เช่นเดียวกันแสดงออกถึงความเห็นด้วยต่อ 4 วาระที่ได้มีการเสนอ โดยมองว่าสิทธิทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามสังคมที่เปลี่ยนไป แม้ว่าในบางวาระหรือบางประเด็นทางพรรคไทยสร้างไทยจะไม่ได้เสนอให้ยกเลิก แต่แน่นอนว่าควรมีการแก้ไข ไม่ให้กฎหมายกลายเป็นเครื่องมือทำร้ายผู้อื่น และหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจคือในวาระของสิทธิส่วนบุคคล แตกต่างจากความคิดเห็นอื่นที่มองในมุมของภาครัฐ คุณธิดารัตน์ ได้หยิบยกประเด็นเรื่องของภาคเอกชน หรือ บริษัท social media platform ทั้งหลายที่มีความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีกับภาค มาเป็นจุดสังเกตอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยในรูปแบบของ round table ซึ่งผู้เข้าร่วมรับฟังสามารถยกประเด็นคำถามเพื่อพูดคุยได้ โดยหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลของประชาชน (กฎเกณฑ์ของหน่วยงานที่ดูเหมือนจะใหญ่และเป็นที่ปฏิบัติตามมากกว่ากฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ) การแก้ไขพรบ.คอม การร่างนโยบายและกฎหมายโดยกลุ่มคนที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในประเด็นดังกล่าวอย่างแท้จริง และการที่นโยบายเรื่องสิทธิดิจิทัลนั้นไม่เป็นที่จับตา ให้ความสนใจ หรือแม้แต่ดึงดูดใจของประชาชนเท่ากับนโยบายเรื่องของปากท้อง เป็นต้น

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: