Academic Study

เตรียมตัวเลือกตั้ง 66 (II): มองนโยบายที่เป็น “สัญญะล่องลอย” (Floating Signifier)[1] ที่นำมาสู่ deal-breaker ในการหาเสียงเลือกตั้ง

ภูริภัทร์ เครือนพรัตน์5 พฤษภาคม 2566 อีกไม่กี่วันก็จะถึงการเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ค. 2566 แล้ว เมื่อเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนั้น ทุกพรรคการเมืองและผู้สมัครรวมถึงแคนดิเดตนายกฯ แต่ละคนก็ต้องงัดไม้เด็ดที่สุดออกมาใช้ เพื่อกอบโกยคะแนนให้ได้มากที่สุด ว่ากันว่าการโกยคะแนนในช่วงโค้งสุดท้ายนั้น จะเป็นอะไรที่ไม่เกี่ยงวิธีการ หรืออุดมการณ์ใด ๆ แบบที่เราเคยพูดกันไปสักเท่าใด[2] แต่จะเป็นการโจมตีคู่ต่อสู้ เพื่อลดคะแนนของคู่ต่อสู้ มากกว่าจะเป็นการหาเสียงเพื่อเพิ่มคะแนนให้กับตนเอง เหมือนกับในภาพยนตร์ล้อเลียนการเมืองอเมริกัน Irresistible (2020) ที่กำกับโดย Jon Stewart นำแสดงโดย Steve Carell ที่ฉากท้าย ๆ Steve ที่แสดงเป็นผู้ทำแคมเปญการหาเสียงให้กับนักการเมืองท้องถิ่นได้กล่าวกับลูกผู้สมัครว่า “การเลือกตั้งมันคือคณิตศาสตร์ ถ้าผมทำให้คนมาเลือกพ่อคุณมากขึ้นไม่ได้ ผมก็จะต้องทำให้คนไปเลือกเขา [คู่ต่อสู้] ให้น้อยลง” ซึ่งสิ่งที่เขาทำคือการเปิดเผยเรื่องฉาวเกี่ยวกับน้องชายของตัวผู้สมัครว่าเคยติดคุก เพื่อให้ความนิยมของตัวผู้สมัครนั้นลดลง กลายเป็น deal-breaker ในการที่จะไม่เลือกผู้สมัครสักคนหนึ่งและแม้ว่าตอนจบจะเป็นการกล่าวถึงข้อจำกัดของการเมืองแบบการเลือกตั้ง (electoral politics) โดยการใช้ฉันทามติของชุมชนเอง แต่ในความเป็นจริงมักจะไม่ใช่อย่างนั้น โดยเฉพาะการเลือกตั้งในประเทศไทย ที่การเมืองแบบการเลือกตั้งนั้นยังเป็นพื้นฐานของการขึ้นสู่อำนาจของนักการเมือง ดังนั้นการหา deal-breaker ของการเลือกพรรคการเมืองอื่น ๆ ยังคงต้องดำเนินการไปอย่างเข้มข้น…

Review: สมุดปกขาว พลเมืองอภิวัฒน์กับประชาธิปไตย ข้อเสนอต่อการส่งเสริมประชาธิปไตยและความเป็นพลเมืองแก่ประชาชน

ภายใต้โครงการวิจัย ‘รางวัลพานแว่นฟ้า พ.ศ. 2559 – 2564: แนวคิดทางสังคมและการปลูกฝังอุดมการณ์ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยผ่านเรื่องสั้นร่วมสมัย’ โดยรองศาสตราจารย์ดร.ขวัญชนก นัยจรัญ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญณ์ณภัทร เจริญพานิช ขวัญข้าว คงเดชา และ ธีทัต จันทราพิชิต26 เมษายน 2566 ภายใต้หลักการของประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม นอกจากจะให้ความสำคัญในเรื่องของสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ยังมุ่งเน้นไปยังการมีส่วนร่วมของประชาชนและการเคารพความคิดเห็นของประชาชน ฉะนั้นการส่งเสริมภาคประชาสังคม เสริมให้เกิดการตื่นตัวในฐานะของพลเมืองตื่นรู้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะการสร้างค่านิยมของ พลเมืองอภิวัฒน์ หรือพลเมืองที่มีทั้งความตื่นรู้และตื่นตัวตามหลักทางสากล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ต่อประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม           ฉะนั้นแล้ว โครงการวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญชนก นัยจรัญ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ธัญณ์ณภัทร เจริญพานิช จึงได้ทำการศึกษาถึงกรณีของวรรณกรรมจากรางวัลพานแว่นฟ้า โดยอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองอภิวัฒน์กับประชาธิปไตย ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน           ในเบื้องต้น รางวัลพานแว่นฟ้า คือ รางวัลที่มอบให้แก่ผู้ชนะการประกวดวรรณกรรม เรื่องสั้น และบทกวี โดยรัฐสภา มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย…

เตรียมตัวเลือกตั้ง 66: ส่องอุดมการณ์พรรคไหน ใครอยู่ซ้ายใครอยู่ขวา ?

ภูริภัทร์ เครือนพรัตน์12 เมษายน 2566 คงเป็นที่แน่นอนแล้วว่าการเลือกตั้งระดับชาติเป็นการทั่วไปของประเทศไทยก็คงจะเป็นวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2566 เป็นที่แน่นอน แต่สิ่งที่ไม่แน่นอนยังคงเป็นการเลือกฝั่งเลือกฝ่ายกันของพรรคการเมืองที่จะลงสนามในการเลือกตั้งในครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าเกิดข่าวลือกันอย่างหนาหูมากมาย ว่า พรรคนั้นจะร่วมกับพรรคนี้ หรือมีเงื่อนไขว่าจะร่วม หรือไม่ร่วม หากมีบางพรรคเข้าไปอยู่ในรัฐบาล ปัญหาดังกล่าวนั้นเป็นผลพวงมาจากการเลือกตั้งครั้งก่อน เมื่อปี พ.ศ.2562 จากการที่การเมืองไทยนั้นแบ่งฝ่ายได้อย่างชัดเจนว่า เป็นพรรคที่คิดอย่างไรกับพรรคที่เรียกกันว่าเป็นพรรค “สืบทอดอำนาจ” เพราะเป็นพรรคการเมืองที่ชูแกนนำจากการรัฐประหารปี พ.ศ.2557 เป็นนายกรัฐมนตรี จนเกิดกระแสการแบ่งเป็นสองฝ่ายในชื่อของ “ฝ่ายประชาธิปไตย” และฝ่าย “สืบทอดอำนาจ” หรือฝ่ายเผด็จการแล้วแต่จะเรียกกัน จากนั้นจึงเป็นเสมือนค่าเริ่มต้นของการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.2562 เป็นต้นมา ที่ใคร พรรคใด อยู่กับฝ่ายสืบทอดอำนาจจะถูกเรียกว่า ฝ่ายขวา และฝ่ายประชาธิปไตย จะถูกเรียกว่าฝายซ้าย โดยปริยาย แล้วจริง ๆ แล้ว อุดมการณ์ที่ว่าซ้าย หรือ ขวา มันคืออะไร แล้วพรรคการเมืองใด ในการเลือกตั้ง 66 นี้ จะอยู่ในจุดไหนกันบ้าง ? ใครคือ “ขวา”…

การผ่านกฎหมายแผนปฏิรูประบบบำนาญแห่งชาติด้วยอำนาจฝ่ายบริหารกับปรากฏการณ์การประท้วงขนาดใหญ่ของชาวฝรั่งเศส

ภาพกระประท้วงในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ภาพจาก Lewis Joly (AP Photo), 2023 ดร.ณพจักร สนธิเณร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีข่าวการประท้วงขนาดใหญ่ของประชาชนชาวฝรั่งเศสที่มีจำนวนมากกว่า1 ล้านคนทั่วประเทศ และปรากฏการณ์นี้ได้ทำให้เกิดความตระหนกไปทั่วโลก สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 รัฐบาลของฝรั่งเศสได้นำเสนอแผนการปฏิรูประบบบำนาญแห่งชาติ (Réforme des retraites) โดยอ้างถึงความเร่งด่วนตามแนวทางการแก้ไขระบบสวัสดิการซึ่งอาจจะส่งผลให้ประเทศขาดดุล ประมาณ 2หมื่นล้านยูโร ในปี 2573 ดังนั้นรัฐบาลจึงได้ประกาศเพิ่มอายุเมื่อเกษียณตามกฎหมายเป็น 64 ปี จากเดิมที่ชาวฝรั่งเศสจะเกษียณเมื่ออายุ 62 ปี โดย ร่างกฎหมายดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี 2566 มาตรการนี้จะควบคู่ไปกับ การขยายระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ ซึ่งจะเพิ่มจำนวนปีในการทำงานเป็น 43 ปี ในปี 2570 ก่อนถึงจุดที่คาดการณ์ไว้ในปี 2578 ที่กำหนดตามแผนการปฏิรูปของ Marisol Touraine อดีตรัฐมนตรีกระทรวงกิจการสังคม ในปี 2557 โดยให้มีผลขยายระยะเวลาการจ่ายเงินที่จำเป็นเพื่อให้ได้เงินบำนาญเต็มจำนวน (Jacquot, 2023, January…

งาน 4-Point Digital Rights Agenda for Political Parties โดย Engage Media

ขวัญข้าว คงเดชา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 Engage Media หรือองค์กรไม่แสวงหากำไรที่สนับสนุนเรื่องของสิทธิดิจิทัลเทคโนโลยีและการใช้งานของโซเซียลมีเดีย ได้เผยแพร่ 4 วาระสิทธิดิจิทัลสำหรับพรรคการเมือง โดยได้อธิบายถึงภูมิหลัง 10 ปีที่ผ่านในบริบทของสิทธิทางดิจิทัลของไทยที่เต็มไปด้วยความท้าทายของประชาชนและค่านิยมทางประชาธิปไตย ในการนี้ทาง Engage Media ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ร่วมกันร่าง 4 วาระทางสิทธิดิจิทัลที่พรรคการเมืองควรพิจารณานำไปประกอบกับนโยบายและอุดมการณ์ของตนเองในช่วงเวลาของการเลือกตั้งที่ใกล้จะถึง วาระที่ 1 ส่งเสริมและปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก โดยได้หยิบยกกรณีคดีความทางออนไลน์และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปราบปรามความเห็นต่าง ส่งผลต่อเสรีภาพของประชาชนภายในระบอบประชาธิปไตย วาระที่ 2 สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้มีการเกริ่นถึงความยากลำบากในการเข้าถึงข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลของภาครัฐ และการเข้าแทรกแซงการเผยแพร่เนื้อหาข้อมูลของภาคส่วนอื่น ๆ ที่รัฐเห็นว่าเป็นประเด็นอ่อนไหว วาระที่ 3 เคารพและปกป้องสิทธิในความเป็นส่วนตัว ที่ผ่านมาเกิดการละเมิดความเป็นส่วนตัวผ่านการให้ความชอบธรรมต่อข้ออ้างของความมั่นคง เกิดเป็นความคลุมเครือที่ไม่สามารถแบ่งเส้นได้อย่างชัดเจนว่ารัฐสามารถที่จะเข้าไปตรวจสอบได้มากน้อยแค่ไหน วาระที่ 4 จัดการกับปัญหาข่าวปลอม การจัดการที่เคยเกิดขึ้นไม่ตรงตามมาตราฐานของสากลในการตรวจสอบและปราบปรามข่าวปลอม แต่กลับถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้มีอำนาจแทนที่จะเป็นการใช้เพื่อนำข้อเท็จจริงสู่สังคม ประเด็นทั้ง 4 วาระเหล่านี้ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ผ่านการศึกษาจากบริบทของประเทศไทยมาตลอด 10 ปี นอกจากนี้ ภายในงานเปิดตัว 4 วาระสิทธิดิจิทัล…

สรุปการบรรยายในเวทีสัมมนาสาธารณะ เรื่อง “Long Take Politics & Elections EP.3: สนทนาว่าด้วย จับตาสถานการณ์ การเลือกตั้ง 66”

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น. โดย สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิฟรีดริช เนามัน และสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย การเลือกตั้งปี 66 ใกล้เข้ามาแล้ว หลายคนคงจะสงสัยว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้มีความแตกต่างจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 อย่างไรบ้าง การเมืองแบบบ้านใหญ่จะกลับมาจริงหรือไม่ และ voter จะเลือกใคร เวทีสัมมนาสาธารณะ “Long Take Politics & Elections: สนทนาว่าด้วย จับตาสถานการณ์ การเลือกตั้ง 66” ได้พยายามหาคำตอบนั้น แลหน้าไปยังการเลือกตั้ง: ผศ.ดร.ตฤณ ไอยะรา             ผศ.ดร.ตฤณ ไอยะรา ได้เริ่มกล่าวถึงประเด็นความเปลี่ยนแปลงของการเลือกตั้ง 66 จากการเลือกตั้ง 62 โดยเน้นไปที่เรื่องของประชากรและเศรษฐกิจ              โดยผศ.ดร.ตฤณ ไอยะรา ได้อธิบายเรื่องความแตกต่างระหว่างการเลือกตั้ง 2562 กับการเลือกตั้ง 2566 ที่กำลังจะถึงนี่นั้นเกิดขึ้นจากปัจจัยดังต่อไปนี้ ปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อทั้งผู้เลือกตั้ง และนักการเมืองด้วย โดยนักการเมืองจะต้องพยายามออกแคมเปญเล่นกับประเด็นสามเรื่องนี้ ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดนั้นคือ เรื่องเศรษฐกิจ ที่นโยบายจะมีลักษณะเป็นการลดต้นทุนในการใช้ชีวิต และหาทางเพิ่มรายได้ นโยบายจำนวนมากเป็นนโยบายเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนซี่งเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ซึ่งนโยบายเหล่านี้ของทุกพรรคมีความคล้ายคลึงกัน…

Loading…

Something went wrong. Please refresh the page and/or try again.

Office of Innovation for Democracy
Subscribe to Our Website

Get new content delivered directly to your inbox.

%d bloggers like this: