ประชาธิปไตยและไวรัสโควิด-19

ร่างหลักการและเหตุผลโครงการวิจัยเรื่อง ‘ความสัมพันธ์ระหว่างมาตรการรับมือสภาวะฉุกเฉินโควิด’

สถานการณ์สภาวะฉุกเฉินถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นรัฐและระบอบการปกครองของประเทศ เช่นเดียวกัน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นประชาธิปไตยและเสรีของแต่ละประเทศ เนื่องจาก แต่ละประเทศมีมาตรการป้องกันและควบคุมที่แตกต่างกันไปหลายระดับ บางประเทศก็ใช้วิธีการที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูง ในขณะที่บางรัฐก็หันมาใช้วิธีที่มีความเด็ดขาดถึงแม้จะมีความเป็นประชาธิปไตยสูงในยามปรกติก็ตาม
ในปัจจุบัน มีความกังวลของผู้คนต่อกระแสของความถดถอยของความเป็นประชาธิปไตยภายในโลก สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะที่เป็นสถาบันวิชาการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยจึงเห็นความสำคัญในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะฉุกเฉินของโรคระบาด COVID-19 และความเป็นประชาธิปไตย รูปแบบการรับมือและมาตรการของแต่ะละประเทศที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกัน ควบคุม และจำกัดการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 นั้นจะเป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษาความเป็นประชาธิปไตยและระดับของความเสรีในแต่ละประเทศ เช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์ว่านโยบายหรือการกระทำของรัฐในช่วงเวลาวิกฤตินั้นถือเป็นการกระทำที่ส่งผลในทางบวกต่อความถดถอยของประชาธิปไตยในทิศทางโลกปัจจุบันหรือไม่
คลังข้อมูล ความเป็นประชาธิปไตยเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาโควิด-19 อย่างไร
Raw data สำหรับรายการ The Standard Daily x KPI กับ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ในประเด็น ‘ความเป็นประชาธิปไตยเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาโควิด-19 อย่างไร’ ในวันที่ 22 เม.ย. 63 สถานการณ์ COVID-19 และมาตรการ Lockdown/ Curfew ของภาครัฐ (โดยภาพรวม) หลังจากที่ WHO ได้ออกมาประกาศยกระดับโรคระบาด COVID-19 ให้เป็น Pandemic มีหลายประเทศที่หันมาใช้มาตรการ lockdown หรือ curfew ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นตั้งแต่ช่วยเวลากลางเดือนมีนาคม จนในปัจจุบันนี้แม้จะเริ่มเห็นถึงแนวโน้มที่จะผ่อนปรนมาตรการ lockdown ที่ว่า โดยประเทศในยุโรปอย่าง เยอรมนีก็เริ่มกลับมาอนุญาตให้ร้านค้าขนาดเล็กเปิดบริการอีกครั้ง เช่นเดียวกันกับเด็กนักเรียนที่ได้รับอนุญาตให้สามารถกลับมาสอบได้เฉพาะกิจ เช่นเดียวกันกับสเปนที่ลูกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้างสามารถกลับมาทำงานได้บางส่วน และสวีเดนที่กฎการห้ามรวมกลุ่มเกิน 50 คนนั้นถูกยกเลิกไปและโรงเรียนสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 นั้นยังคงเปิดได้ตามปรกติ ร้านอาหารและบาร์สามารถต้อนรับลูกค้าภายในร้านได้เช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีหลายประเทศที่ขยายเวลามาตรการ lockdown นี้ต่อไป ยกตัวเช่น…
สรุปเนื้อหางานเสวนา IAPA International Webinar 2020 ในหัวข้อ “Governance and Public Administration Issues and Concerns Amidst COVID-19 Pandemic: Country Experiences and Imperatives for Regional Cooperation”
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 Indonesian Association for Public Administration (IAPA) ได้จัดงานเสวนาออนไลน์ที่เรียกกันว่าWebinar ผ่านโปรแกรม ZOOMและถ่ายทอดสดผ่าน YouTube โดยได้เชิญนักวิชาการ อาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญจาก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียมาแลกเปลี่ยนความรู้ในประเด็นของการรับมือสถานการณ์โรคระบาดCOVID-19 ในแต่ละประเทศ โดยวิทยากรแต่ละท่านนำเสนอเรื่องราวและประสบการณ์ของประเทศตัวเองใน 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ 1. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสถิติยอดผู้ติดเชื้อ หรือนโยบายและมาตรการที่มีการบังคับใช้ 2. ข้อสังเกตและบทวิเคราะห์ต่อการบริหารและการดำเนินการทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล 3. ข้อเสนอ คำแนะนำ และสิ่งที่ควรจะมองต่อไปในอนาคตภายหลังบทเรียนการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 Prof. Eko Prasojo จากสาธารณรัฐอินโดนีเซียเริ่มต้นด้วยการสร้างความเข้าใจพื้นฐานต่อสถานการณ์ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศอินโดนีเซียและนโยบายของรัฐบาลเพื่อรับมือโรคระบาด ไม่ว่าจะเป็นการการเว้นระยะห่างทางสังคม การสั่งปิดสถานที่ต่างๆ ให้ย้ายไปทำงานและเรียนที่บ้านแทน การโยกย้ายงบประมาณเพื่อสนับสนุนการป้องกันยับยั้งโรคระบาด และนโยบายทางการเงินเพื่อสนับสนุนประชาชนและธุรกิจในช่วงเวลาวิกฤต ทั้งนี้ Prof. Prasojo กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้น 2 ประการ คือ 1. มีกฎหมายและระเบียบบังคับที่เยอะเกินไปส่งผลให้แต่ละกระทรวงผู้รับผิดชอบนั้นมีความสับสนจนเกิดเป็นการทับซ้อนกันภายในหน่วยงานของรัฐ 2. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น สืบเนื่องจากไม่มีความชัดเจนในบทบาท อำนาจอิสระในการบริหารท้องถิ่น และงบประมาณทำให้ความร่วมมือระหว่างทั้งสองนั้นไม่หนักแน่น ท้ายที่สุดแล้ว Prof. Prasojo ได้เสนอแนะว่าควรจะมีการบูรณาการนโยบายเพื่อที่จะสร้างบรรยกาศและความเข้าใจในการประสานงานขององค์กรต่างๆ ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจถึงสถานการณ์ของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญคือคำถามถึงอนาคตว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ในการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคหรือระดับโลก ผลักดันธรรมาภิบาลระดับโลก (Global Governance) ให้เกิดขึ้นเพื่อที่ทุกคนจะสามารถฟันฝ่าวิกฤตในครั้งนี้และที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตได้ Prof. Kwon…
ไวรัสอู่ฮั่นและการแพร่กระจายของอำนาจรัฐ
ขวัญข้าว คงเดชา3 กุมภาพันธ์ 2563 เริ่มต้นทศวรรษใหม่ 2020 ด้วยการการระบาดของไวรัส โคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ (2019 Novel Coronavirus: 2019-nCoV) วันที่ 27 ธันวาคม 2562 มีการเผยแพร่ข่าวการระบาดภายในอู่ฮั่นท่ามกลางความสงสัยว่ารัฐบาลจีนกำลังพยายามปกปิดข่าวแม้จะมีบทเรียนจากโรคซาร์สเมื่อปี 2545 หรือไม่ วันที่ 3 มกราคม 2563 ทางการได้ออกมาแถลงถึงการระบาดของโรคไม่ทราบชื่อ วันที่ 10 มกราคม 2563 พบผู้เสียชีวิตรายแรกในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน วันที่ 13 มกราคม 2563 ไวรัสได้กระจายข้ามมายังประเทศไทยเป็นประเทศแรก ก่อนจะมีการค้นพบที่ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ในเวลาต่อมา เนื่องด้วยช่วงเวลาตรุษจีนที่มีการหยุดยาวส่งผลให้มีการแพร่ระบาดของโรคออกจากเมืองอู่ฮั่นไปยังเมืองอื่นๆ ในจีนและประเทศโดยรอบ วันที่ 19 มกราคม 2563 ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าไวรัสดังกล่าวสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้ วันที่ 22 มกราคม 2563 มีการสั่งปิดเมืองเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด วันที่ 28 มกราคม 2563…