HOME

บทความล่าสุด

เตรียมตัวเลือกตั้ง 66 (II): มองนโยบายที่เป็น “สัญญะล่องลอย” (Floating Signifier)[1] ที่นำมาสู่ deal-breaker ในการหาเสียงเลือกตั้ง

ภูริภัทร์ เครือนพรัตน์5 พฤษภาคม 2566 อีกไม่กี่วันก็จะถึงการเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ค. 2566 แล้ว เมื่อเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนั้น ทุกพรรคการเมืองและผู้สมัครรวมถึงแคนดิเดตนายกฯ แต่ละคนก็ต้องงัดไม้เด็ดที่สุดออกมาใช้ เพื่อกอบโกยคะแนนให้ได้มากที่สุด ว่ากันว่าการโกยคะแนนในช่วงโค้งสุดท้ายนั้น จะเป็นอะไรที่ไม่เกี่ยงวิธีการ หรืออุดมการณ์ใด ๆ แบบที่เราเคยพูดกันไปสักเท่าใด[2] แต่จะเป็นการโจมตีคู่ต่อสู้ เพื่อลดคะแนนของคู่ต่อสู้ มากกว่าจะเป็นการหาเสียงเพื่อเพิ่มคะแนนให้กับตนเอง เหมือนกับในภาพยนตร์ล้อเลียนการเมืองอเมริกัน Irresistible (2020) ที่กำกับโดย Jon Stewart นำแสดงโดย Steve Carell ที่ฉากท้าย ๆ Steve ที่แสดงเป็นผู้ทำแคมเปญการหาเสียงให้กับนักการเมืองท้องถิ่นได้กล่าวกับลูกผู้สมัครว่า “การเลือกตั้งมันคือคณิตศาสตร์ ถ้าผมทำให้คนมาเลือกพ่อคุณมากขึ้นไม่ได้ ผมก็จะต้องทำให้คนไปเลือกเขา [คู่ต่อสู้] ให้น้อยลง” ซึ่งสิ่งที่เขาทำคือการเปิดเผยเรื่องฉาวเกี่ยวกับน้องชายของตัวผู้สมัครว่าเคยติดคุก เพื่อให้ความนิยมของตัวผู้สมัครนั้นลดลง กลายเป็น deal-breaker ในการที่จะไม่เลือกผู้สมัครสักคนหนึ่งและแม้ว่าตอนจบจะเป็นการกล่าวถึงข้อจำกัดของการเมืองแบบการเลือกตั้ง (electoral politics) โดยการใช้ฉันทามติของชุมชนเอง แต่ในความเป็นจริงมักจะไม่ใช่อย่างนั้น โดยเฉพาะการเลือกตั้งในประเทศไทย ที่การเมืองแบบการเลือกตั้งนั้นยังเป็นพื้นฐานของการขึ้นสู่อำนาจของนักการเมือง ดังนั้นการหา deal-breaker ของการเลือกพรรคการเมืองอื่น ๆ ยังคงต้องดำเนินการไปอย่างเข้มข้น…

Review: สมุดปกขาว พลเมืองอภิวัฒน์กับประชาธิปไตย ข้อเสนอต่อการส่งเสริมประชาธิปไตยและความเป็นพลเมืองแก่ประชาชน

ภายใต้โครงการวิจัย ‘รางวัลพานแว่นฟ้า พ.ศ. 2559 – 2564: แนวคิดทางสังคมและการปลูกฝังอุดมการณ์ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยผ่านเรื่องสั้นร่วมสมัย’ โดยรองศาสตราจารย์ดร.ขวัญชนก นัยจรัญ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญณ์ณภัทร เจริญพานิช ขวัญข้าว คงเดชา และ ธีทัต จันทราพิชิต26 เมษายน 2566 ภายใต้หลักการของประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม นอกจากจะให้ความสำคัญในเรื่องของสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ยังมุ่งเน้นไปยังการมีส่วนร่วมของประชาชนและการเคารพความคิดเห็นของประชาชน ฉะนั้นการส่งเสริมภาคประชาสังคม เสริมให้เกิดการตื่นตัวในฐานะของพลเมืองตื่นรู้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะการสร้างค่านิยมของ พลเมืองอภิวัฒน์ หรือพลเมืองที่มีทั้งความตื่นรู้และตื่นตัวตามหลักทางสากล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ต่อประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม           ฉะนั้นแล้ว โครงการวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญชนก นัยจรัญ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ธัญณ์ณภัทร เจริญพานิช จึงได้ทำการศึกษาถึงกรณีของวรรณกรรมจากรางวัลพานแว่นฟ้า โดยอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองอภิวัฒน์กับประชาธิปไตย ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน           ในเบื้องต้น รางวัลพานแว่นฟ้า คือ รางวัลที่มอบให้แก่ผู้ชนะการประกวดวรรณกรรม เรื่องสั้น และบทกวี โดยรัฐสภา มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย…

เตรียมตัวเลือกตั้ง 66: ส่องอุดมการณ์พรรคไหน ใครอยู่ซ้ายใครอยู่ขวา ?

ภูริภัทร์ เครือนพรัตน์12 เมษายน 2566 คงเป็นที่แน่นอนแล้วว่าการเลือกตั้งระดับชาติเป็นการทั่วไปของประเทศไทยก็คงจะเป็นวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2566 เป็นที่แน่นอน แต่สิ่งที่ไม่แน่นอนยังคงเป็นการเลือกฝั่งเลือกฝ่ายกันของพรรคการเมืองที่จะลงสนามในการเลือกตั้งในครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าเกิดข่าวลือกันอย่างหนาหูมากมาย ว่า พรรคนั้นจะร่วมกับพรรคนี้ หรือมีเงื่อนไขว่าจะร่วม หรือไม่ร่วม หากมีบางพรรคเข้าไปอยู่ในรัฐบาล ปัญหาดังกล่าวนั้นเป็นผลพวงมาจากการเลือกตั้งครั้งก่อน เมื่อปี พ.ศ.2562 จากการที่การเมืองไทยนั้นแบ่งฝ่ายได้อย่างชัดเจนว่า เป็นพรรคที่คิดอย่างไรกับพรรคที่เรียกกันว่าเป็นพรรค “สืบทอดอำนาจ” เพราะเป็นพรรคการเมืองที่ชูแกนนำจากการรัฐประหารปี พ.ศ.2557 เป็นนายกรัฐมนตรี จนเกิดกระแสการแบ่งเป็นสองฝ่ายในชื่อของ “ฝ่ายประชาธิปไตย” และฝ่าย “สืบทอดอำนาจ” หรือฝ่ายเผด็จการแล้วแต่จะเรียกกัน จากนั้นจึงเป็นเสมือนค่าเริ่มต้นของการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.2562 เป็นต้นมา ที่ใคร พรรคใด อยู่กับฝ่ายสืบทอดอำนาจจะถูกเรียกว่า ฝ่ายขวา และฝ่ายประชาธิปไตย จะถูกเรียกว่าฝายซ้าย โดยปริยาย แล้วจริง ๆ แล้ว อุดมการณ์ที่ว่าซ้าย หรือ ขวา มันคืออะไร แล้วพรรคการเมืองใด ในการเลือกตั้ง 66 นี้ จะอยู่ในจุดไหนกันบ้าง ? ใครคือ “ขวา”…

%d bloggers like this: