มุ่งเน้นการวิจัยที่สร้างความเข้มข้นขององค์ความรู้ด้านการพัฒนาประชาธิปไตย ในรูปแบบการสำรวจติดตามสถานการณ์ การสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อเปิดพื้นที่การอภิปรายทางวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสาธารณะในวงกว้าง ร่วมกับการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ใน 2 ประเด็น คือ (1) การแบ่งขั้วความคิดทางการเมือง (political polarization) โดยเฉพาะความแตกต่างของค่านิยมประชาธิปไตยและพฤติกรรมทางการเมืองระหว่างประชาชนแต่ละช่วงวัย และผลกระทบต่อความก้าวหน้าหรือถดถอยของประชาธิปไตย และ (2) องค์ความรู้ด้านรัฐธรรมนูญศึกษาทั้งในเรื่องกระบวนการจัดทำและออกแบบกลไกกติกาต่างๆ อาทิ การจัดวางโครงสร้างอำนาจ หน้าที่และอำนาจของสถาบันการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ ความเชื่อมโยงระหว่างบริบททางการการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และรัฐธรรมนูญ ตลอดจนพัฒนาการของรัฐธรรมนูญและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในยุคแห่งการพลิกผันทางดิจิทัล (digital disruption) ต่อคุณภาพของประชาธิปไตย
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื่อทบทวนและจัดทำองค์ความรู้ด้านการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างรอบด้านและทันสมัย
2) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านการพัฒนาประชาธิปไตยภายใต้ปรากฏการณ์การแบ่งขั้วความคิดทางการเมืองและการเข้ามามีอิทธิพลอย่างสูงของสื่อดิจิทัล
3) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านรัฐธรรมนูญศึกษาที่เข้มข้น ครบถ้วน และรอบด้าน
ผลผลิตของโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
โครงการวิจัย ‘ติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองไทย และการเลือกตั้งทั่วไป’
โครงการวิจัย ‘ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มวัยในการเมืองไทยยุคผันผวน’
การเลือกตั้งของประเทศไทยได้ถูกตั้งคำถามหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องข้อสงสัยในความชอบธรรมของการเลือกตั้ง ซึ่งมีจากการซื้อเสียง ข้อถกเถียงนี้นำมาสู่การไม่ยอมรับในชอบธรรมของผู้บริหารประเทศ และนำไปสู่กิจกรรมทางการเมืองที่บานปลายจนกลายเป็นความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้นปัญหาของการเลือกตั้งที่มักถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก คือ ปัญหาการซื้อเสียง (Vote buying) โดยการซื้อเสียงเป็นหนึ่งในวิธีการโกงการเลือกตั้ง (Electoral fraud) ซึ่งการศึกษาเรื่องการซื้อเสียงในการเมืองไทยนั้น นอกจากจะเผยให้เห็นถึงกระบวนการของการระดมคะแนนเสียงในการแข่งขันเลือกตั้งของการเมืองไทย แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงอุดมการณ์ ความเชื่อและวิถีทางการเมืองของคนในภูมิภาคที่ถูกพูดถึง
- เลือกตั้งซ่อม 2562 – 2563
- เลือกตั้งท้องถิ่น
