ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเชิงปฎิบัติการ (Operational research) กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อรองรับสังคมสูงวัยที่สังคมไทยกำลังเผชิญกับภาวะภาวะการเปลี่ยนแปลง ผู้สูงอายุเพิ่ม เด็กเกิดน้อย และกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุ โดยคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete aged society) ในปี 2564 เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูประบบรองรับสังคมสูงวัยด้านสุขภาพอย่างบูรณาการ โดยผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ประชาเสวนาหาทางออก ลูกขุนพลเมือง และสมัชชาเฉพาะประเด็นนำไปสู่การพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อรองรับสังคมสูงวัยที่ครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ มิติสุขภาพ มิติสภาพแวดล้อม และมิติสังคม
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการประชาเสวนาหาทางออก กระบวนการลูกขุนพลเมือง หรือกระบวนการอื่นๆ และถอดบทเรียนจากกระบวนการดังกล่าวเพื่อให้ทราบถึงข้อดี-ข้อเสียและปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความเหมาะสมของการนำกระบวนการดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายรองรับสังคมสูงวัยที่ครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ มิติสุขภาพ มิติสภาพแวดล้อม และมิติสังคม
2) เพื่อสังเคราะห์ชุดความรู้ที่ระบุปัจจัย เงื่อนไข ของการนำกระบวนการทั้ง 3 มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนากระบวนการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของ สช. ต่อไป
รายงานฉบับสมบูรณ์
บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)